เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 1

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์ได้ นำมาแต่งประโยคได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๕ – ๒๘
ต.ค.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :
วรรณกรรม เรื่อง สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว
หลักภาษา  :  พยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์
Key Questions :
นักเรียนเห็นอะไรจากปกนี้บ้าง คิดว่านิทานเล่มนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร?
นักเรียนคิดว่าเนื้อหาของวรรณกรรมจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
- นักเรียนคิดว่าสีเทาคือสัตว์ชนิดใด?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : คำศัพท์ที่ได้จากการประสมพยัญชนะ  สระ  และวรรณยุกต์
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับพยัญชนะ  สระ  และวรรณยุกต์
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว
- บัตรภาพ/บัตรคำ
วันจันทร์
หยุดชดเชยวันปิยมหาราช

วันอังคาร
ชง : ทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยที่ได้เรียนรู้ผ่านมาใน Quarter2 และสิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมใน Quarter3
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ที่เรียนผ่านมา และสิ่งที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม

วันพุธ
ชง : ครูให้นักเรียนดูหน้าปกวรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว
พร้อมทั้งใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรจากปกนี้บ้าง คิดว่านิทานเล่มนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร?, “นักเรียนคิดว่าเนื้อหาของวรรณกรรมจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
เชื่อม : - ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมที่ใช้สอน และให้นักเรียนแต่ละคนเขียนคาดเดาเรื่องเกี่ยวกับวรรณกรรมพร้อมวาดภาพประกอบ
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมจากสิ่งที่นักเรียนร่วมกันคาดเดา

วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูนำบัตรภาพที่เป็นรูปพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ มาให้นักเรียนดูเพื่อเป็นการทบทวน
- นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น ๕ กลุ่ม ครูแจกบัตรภาพพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ให้กลุ่มละ ๑ ชุด
- นักเรียนแต่ละกลุ่มประสมคำให้ได้มากที่สุดภายในเวลา ๑๐ นาที
เชื่อม : - ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และการนำไปใช้สื่อสารอย่างเหมาะสม
ใช้ : นักเรียนทำใบงานเติมพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์

วันศุกร์
 ชง : ครูทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ในภาษาไทย จากนั้นให้นักเรียนเขียนตามคำบอก ๑๐ คำ
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมทั้งทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมาใน Quarter2
ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่อยากเรียนรู้
- การทบทวนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ชิ้นงาน :
- วาดภาพคาดเดาเรื่อง
- เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน

ความรู้ :
นักเรียนสามารถอ่านและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์ได้ นำมาแต่งประโยคได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด

ภาพกิจกรรม

ตัวอย่างชิ้นงาน


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์แรกของการเรียนรู้ใน Quarter3 เนื่องจากเป็นสัปดาห์แรกจึงมีการทบทวนองค์ความรู้ที่ผ่านมา และการบ้านในช่วงที่ปิดเทอม เริ่มต้นบทเรียนใหม่ ใน Quarter นี้ พี่ป.๑ เรียนวรรณกรรมเรื่อง สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ปรากฏการณ์พิเศษที่พบ พี่ๆ สนใจวรรณกรรมที่จะเรียนมาก คาดเดาเรื่องราวได้น่าสนใจ แตกละคนก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป คาดเดาเรื่องราวของตนเองอย่างสนุกสนาน ในวันที่ลงหลักภาษาพบว่าพี่ๆ สามารถต่อเติมคำ คิดคำได้อย่างหลากหลาย ทุกคนสนใจ และสนุกสนานพร้อมได้คิด และทบทวนคำศัพท์ไปกับสื่อง่ายๆ ที่ครูเตรียมมา ซึ่งในส่วนนี้เป็นการกระตุ้นให้คิด ได้ลงมือปฏิบัติจริง เขียนคำศัพท์เพื่อเป็นการทบทวน ทำให้ครบกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย ถ้าจะดีกว่าครูน่าจะเพิ่มขนาดของบัตรคำ และเตรียมการให้พร้อมกว่านี้

    ตอบลบ