เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่าน และเขียน แยกแยะคำควบกล้ำแท้กับคำควบกล้ำไม่แท้ได้ สามารถนำคำคำควบกล้ำแท้มาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๘ – ๒
ธ.ค.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :
วรรณกรรม เรื่อง  สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน สวนผลไม้
หลักภาษา : คำควบกล้ำแท้
Key Questions :
- ป้าวัวพาสีเทาไปที่ใด พบเจอกับใครบ้าง?
- นักเรียนจะแยกแยะคำควบกล้ำแท้ กับคำควบกล้ำไม่แท้ได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : คำศัพท์คำควบกล้ำแท้
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำควบกล้ำแท้ และวรรณกรรมที่อ่าน
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน สวนผลไม้
- ปริศนาอักษรไขว้
วันจันทร์
ชง : ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน สวนผลไม้ พร้อมๆ กัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
: นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้
: นักเรียนเขียนสรุปเป็น Mind Mapping
วันอังคาร
ชง : - นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น ๓ กลุ่ม ครูนำตะกร้าที่แยกเป็นคำควบกล้ำ ร ล ว มา ๓ ตะกร้า พร้อมกับบัตรคำควบกล้ำที่มีในวรรณกรรมมาให้นักเรียนช่วยกันแยกคำ
- นักเรียนแต่ละคนเลือกบัตรคำ ๑ ใบ หย่อนลงในตะกร้าที่คิดว่าถูกต้องที่สุด
เชื่อม
: ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และตรวจเช็คความถูกต้องพร้อมๆ กันอีกครั้ง พร้อมกับใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร”, “คิดว่าคำเหล่านี้เป็นคำชนิดใด” จากนั้นพานักเรียนอ่านสะกดคำ และเขียนสะกดคำบนกระดาน
ใช้
: นักเรียนเลือกคำควบกล้ำ ร ล ว มาอย่างละ ๓ คำ พร้อมกับแต่งประโยค
วันพุธ
ชง : นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น ๕ กลุ่ม เล่นเกมไขปริศนาอักษรไขว้ โดยให้เวลาในการเล่น ๕ นาที หาคำที่เป็นคำควบกล้ำให้ได้เยอะที่สุด หลังจากเล่นเกม ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำที่กลุ่มตนเองได้
เชื่อม
: ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้คำควบกล้ำที่อยู่ในเกม พร้อมกับอธิบายลักษณะของคำควบแท้
ใช้
: นักเรียนทำบัตรคำควบกล้ำคนละ ๕ ใบ พร้อมกับวาดภาพประกอบ
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูทบทวนเกี่ยวกับคำควบกล้ำแท้ และให้นักเรียนเขียนตามคำบอก ๑๐ คำ
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากที่เขียนตามคำบอก ร่วมตรวจสอบความถูกต้องพร้อมๆ กัน จากนั้นให้นักเรียนเลือกคำมาแต่ประโยค ๓ ประโยค
วันศุกร์
ชง : - นักเรียนจับคู่อ่านนิทานคำควบกล้ำ โดยครูให้โจทย์คืออ่านแล้วสามารถอธิบายให้เพื่อนคู่อื่นเข้าใจ จากนั้นให้นักเรียนค้นคำควบกล้ำที่อยู่ในนิทาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง? 
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เรื่องคำควบกล้ำแท้ไปพร้อมๆ กัน
ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
การทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องคำควบกล้ำแท้ที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- เขียนการ์ตูนช่อง
- บัตรคำ
ความรู้ :
นักเรียนสามารถอ่าน และเขียน แยกแยะคำควบกล้ำแท้กับคำควบกล้ำไม่แท้ได้ สามารถนำคำคำควบกล้ำแท้มาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด


ภาพตัวอย่างกิจกรรม


ภาพตัวอย่างชิ้นงาน









1 ความคิดเห็น:

  1. ปรากฏการณ์พิเศษที่พบระหว่างทาง ครูสอนเรื่องคำควบกล้ำในสัปดาห์นี้ เห็นความตั้งใจในการเรียนของพี่ๆ ประทับใจในหลายๆ อย่างทั้งการที่เพื่อนเตือนเพื่อน การเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม และการเชื่อมโยงคำที่ได้อ่านจากวรรณกรรม ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดว่า “คำที่ครูนำมาเป็นคำอะไร?” พี่แก้ม “คำควบกล้ำค่ะ” “ทำไมถึงเรียกว่าคำควบกล้ำ?” พี่ต้นกล้า “เพราะว่าอ่านออกเสียงพยัญชนะสองตัวพร้อมกัน” ในตอนอ่านนิทานประทับใจที่เขาช่วยกันอ่านคำไหนเพื่อนอ่านไม่ได้ก็จะรอและช่วยกันสะกด ขณะที่มาอ่านให้ครูฟังพี่ๆ ก็พยายามสะกดเพื่อที่อ่านให้ถูก แม้บางคำจะยากเกินระดับป.๑แต่เขามีความพยายามมาก จะดีกว่านี้ถ้าครูทำกิจกรรมให้เร็ว เพิ่มเวลาทำงานให้เยอะขึ้น ให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเองบ้าง ให้เขามีส่วนร่วมในการเขียน การอ่านมากว่าที่ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมเอง

    ตอบลบ