เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและสามารถเขียนแจกลูกคำ และสะกดคำได้ถูกต้อง นำคำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
 ๓๑ – ๔
พ.ย.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :
วรรณกรรม เรื่อง  สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน ป้าวัวกับหูกาง
หลักภาษา  : การแจกลูก สะกดคำ
Key Questions :
- ทำไมสีเทาจึงพลัดพลาดจากแม่ แล้วนักเรียนคิดว่าสีเทาคือตัวอะไร?
- นักเรียนคิดว่าการสะกดคำ และการแจกลูกสำคัญหรือไม่ อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : ตัวอย่างการเขียนแจกลูกสะกดคำ
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
- พฤติกรรมสมอง
- Web : แจกลูกสระ
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน ป้าวัวกับหูกาง
- บัตรภาพ/บัตรคำ
วันจันทร์
ชง : ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน ป้าวัวกับหูกาง พร้อมๆ กัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
: นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้
: นักเรียนเขียนสรุปข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และทำการ์ตูนช่องสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนนี้
วันอังคาร
ชง : - ครูแจกบัตรภาพสระให้นักเรียนคนละแผ่น ให้นักเรียนเขียนคำศัพท์ที่สะกดด้วยสระนั้นๆ ใส่กระดาษ จากนั้นเวียนบัตรภาพสระไปเรื่อยๆ จนครบ ๑๐ คำ
- นักเรียนนำเสนอกระดาษคำศัพท์ของตนเอง
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ที่นักเรียนเขียน รวมทั้งสระ พยัญชนะที่ใช้ในการสะกดคำของแต่ละคน
ใช้ : นักเรียนเขียน Web แจกลูกสระที่ครูกำหนดให้

วันพุธ
ชง : - ครูทบทวนการอ่านเขียนแจกลูกคำ โดยนำคำศัพท์ที่ได้จากวรรณกรรมสีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน ป้าวัวกับหูกาง มาแจกลูกสะกดให้นักเรียนดูบนกระดาน
- นักเรียนอาสาออกมาแจกลูกสะกดคำที่ครูเขียนคำศัพท์ไว้ให้บนกระดาน
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับการแจกลูกสะกดคำทั้งแบบที่มีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด
ใช้ : นักเรียนทำใบงานการแจกลูก

วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูนำบัตรคำมาให้นักเรียนดู แล้วติดไว้บนกระดาน แบ่งช่องตาราง เพื่อให้นักเรียนช่วยการออกมาเขียนแจกลูกสะกดคำ
- นักเรียนออกมาเขียนแจกลูกสะกดคำ ครูทบทวนเรื่องการแจกลูกคำที่ถูกต้องอีกครั้ง
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากที่เรียนเรื่องการแจกลูกสะกดคำที่ถูกต้องไปแล้ว และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ใช้ : นักเรียนทำบัตรภาพ พร้อมกับเขียนสะกดคำ และคำที่สมบูรณ์ 

วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง? 
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา

ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
- การออกแบบบัตรภาพการสะกดคำ
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน :
- เขียนการ์ตูนช่อง
- เขียน Web แจกลูกสระ
- บัตรภาพสะกดคำ
ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจและสามารถเขียนแจกลูกคำ และสะกดคำได้ถูกต้อง นำคำมาแต่งประโยคและเขียนเรื่องราวได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด

ตัอย่างภาพกิจกรรม

ภาพตัวอย่างชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๒ ของการเรียนรู้ เห็นความงอกงามของพี่ ป.๑ หลายด้าน อย่างด้านการจำ พี่หลายๆ คนจำสิ่งที่เรียนใน Quarter ที่แล้วได้ สามารถตอบคำถามโดยดึงความจำมาใช้ เช่น ในระหว่างที่ครูพาทบทวนเรื่องการสะกดคำ แจกรูปคำ ครูจะถามซ้ำกับพี่ๆ ทุกครั้งว่าคำๆ นี้มีตัวใดสะกด อยู่ในแม่ใด พี่แก้มเป็นคนแรกที่จำได้ จากนั้นครูโยนคำถามกระตุ้น “พี่ๆ คิดว่านอกจากแม่กนแล้ว จะมีแม่อื่นๆ อีกหรือเปล่า ที่ใช้สะกดคำ” พี่ชิน “มีครับ มี ๘ แม่หรือ ๙ แม่นี่แหละครับ” ครูจึงรีบฉวยโอกาสทบทวนเรื่องมาตราตัวสะกด พี่ๆ ส่วนใหญ่จำได้ และตอบคำถามได้ ทุกครั้งที่เห็นโอกาสดีๆ ครูจะรีบฉวยและเพิ่มเติมให้นักเรียนทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้พัฒนาเขาให้เกิดความงอกงามเพิ่มขึ้น สำหรับสัปดาห์นี้เกิดเหตุการณ์ที่ตัวครูเองควบคุมไม่ได้หลายอย่าง จะดีกว่านี้ถ้าตัวครูลดการคาดหวังลงอีกนิด ควบคุมตนเอง ควบคุมอารมณ์ได้อีกหน่อย เข้าใจในสิ่งที่เขาเป็น เพราะแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับตัวเขาเอง และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเขา ครูทำเต็มที่ตามที่ตั้งใจไว้แล้ว

    ตอบลบ