เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 4

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถเข้าใจ อ่านและเขียนคำในมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา สามารถนำคำในมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรามาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
๑๔ – ๑๘
พ.ย.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :
วรรณกรรม เรื่อง  สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บึงใหญ่กลางทุ่ง
หลักภาษา : คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา
Key Questions :
สีเทารู้จักสัตว์ชนิดใดเพิ่มบ้าง แล้วสีเทาไปที่บึงใหญ่กลางทุ่งเพื่อทำอะไร?
- นักเรียนจะจดจำคำที่สะกดโดยตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : ตารางมาตราตัวสะกด
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา และวรรณกรรมที่อ่าน
- พฤติกรรมสมอง
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บึงใหญ่กลางทุ่ง
- ตารางมาตราตัวสะกด
- บัตรภาพ/บัตรคำ
วันจันทร์
ชง : ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บึงใหญ่กลางทุ่ง พร้อมๆ กัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้
: นักเรียนเขียนสรุปข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และทำการ์ตูนช่องสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนนี้
วันอังคาร
ชง : - ครูนำตารางมาตราตัวสะกด ที่ครูเขียนแยกเป็นสีๆ มาให้นักเรียนสังเกต พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรในตารางนี้บ้าง มีอะไรที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันออกไป?
- ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกต และช่วยกันวิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใด มาตราบางมาตราถึงมีสะกดที่หลากหลาย
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากที่ร่วมกันวิเคราะห์ตารางมาตรา พร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตราที่มีตัวสะกดที่หลากหลาย
ใช้ : นักเรียนทำใบงานทบทวนเรื่องมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา

วันพุธ
ชง : - ครูนำบัตรคำที่มีตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรามาให้ดู พร้อมทั้งให้คำถามกระตุนการคิด “นักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้จะสามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้หรือไม่ จัดได้อย่างไร?
- นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่บัตรคำ โดยครูจะทำตารางไว้ให้บนกระดาน และให้นักเรียนออกมาติดบัตรคำทีละคน
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับหลังจากที่นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่ ครูเพิ่มคำยากที่นักเรียนไม่รู้จักในแต่ละหมวดหมู่
ใช้ : นักเรียนสร้าง Window 4 บาน จัดเป็นแม่กก แม่กด แม่กน แม่กบ เลือกเขียนคำศัพท์ ๓ คำ พร้อมกับแต่งประโยค

วันพฤหัสบดี
ชง : - นักเรียนนำเสนอ Window มาตราตัวสะกดของตนเอง
- ครูทบทวนเกี่ยวกับมาตราตัวสะกดที่ตรงมาตรา และไม่ตรงมาตรารวมกันอีกครั้ง โดยให้นักเรียนแต่ละคนคิดคำขึ้นมาคนละ ๑ คำ แล้วบอกคำของตนเองอยู่ในแม่ใด
ใช้ : นักเรียนทำใบงานทบทวนความรู้

วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง? 
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษาเรื่องมาตราตัวสะกด

ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- การวิเคราะห์จัดหมวดหมู่คำศัพท์ตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
- การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับมาตราตัวสะกดที่ตามความสนใจ
ชิ้นงาน :
- เขียนการ์ตูนช่อง
- ทำ Window 4 บาน
ความรู้ :
นักเรียนสามารถเข้าใจ อ่านและเขียนคำในมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา สามารถนำคำในมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรามาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด

ภาพตัวอย่างกิจกรรม
ภาพตัวอย่างชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๔ ของการเรียนรู้ ปรากฏการณ์พิเศษที่พบระหว่างการเรียนรู้ สอนต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วเรื่องมาตราตัวสะกด สิ่งที่พบ คือ พี่ๆ ส่วนใหญ่เข้าใจ และสามารถแยกคำที่สะกดแต่ละมาตราได้แล้ว ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำๆ นี้อยู่ในแม่ใด?” พี่แก้ม “ดูจากตัวที่อยู่ท้ายสุดค่ะ” พี่ๆ รู้และเข้าใจแล้วว่าตัวพยัญชนะที่ตามหลังสระ เขาเรียกว่าตัวสะกด แต่ก็ยังมีพี่ที่จำสับสน และไม่เข้าใจ ครูจึงอธิบายเสริมเพิ่มเติม และให้ทำชิ้นงานที่เหมาะกับแต่ละบุคคล จากที่สังเกตมาหลายสัปดาห์ ตอนนี้พี่ ป.๑ อ่านได้ เขียนได้คล่องขึ้นมาก แต่บางคนยังไม่กล้าที่จะอ่านออกเสียง หรือฝึกเขียนด้วยตัวเอง อยากให้พี่ๆ มีความมั่นใจมากกว่านี้ จะดีกว่านี้ถ้าฝึกให้พี่ๆ มีความมั่นใจ และมีกิจกรรมให้เขาได้แสดงออกอย่างเต็มที่

    ตอบลบ