เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 7

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่าน และเขียน แยกแยะคำควบกล้ำแท้กับคำควบกล้ำไม่แท้ได้ สามารถนำคำคำควบกล้ำไม่แท้มาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
๕ – ๙
ธ.ค.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :
วรรณกรรม เรื่อง  สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บ่างช่างร่อน
หลักภาษา : คำควบกล้ำไม่แท้
Key Questions :
- สีเทาคือสัตว์ชนิดใด หากนักเรียนเป็นสีเทานักเรียนจะตามหาแม่อย่างไร?
- นักเรียนจะแยกแยะคำควบกล้ำแท้ กับคำควบกล้ำไม่แท้ได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : คำศัพท์คำควบกล้ำไม่แท้
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำควบกล้ำไม่แท้ และวรรณกรรมที่อ่าน
- พฤติกรรมสมอง
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บ่างช่างร่อน
- หนังสือนิทานเรื่อง สร้อยคอของสิงโต
วันจันทร์
ชง : ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บ่างช่างร่อน พร้อมๆ กัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
: นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้
: นักเรียนเขียนสรุปข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และทำการ์ตูนช่องสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนนี้
วันอังคาร
ชง : - ครูอ่านนิทานเรื่อง สร้อยคอของสิงโต ให้นักเรียนฟัง พร้อมตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
- ครูเขียนคำควบกล้ำไม่แท้ที่เจอในนิทานบนกระดาน ให้นักเรียนช่วยกันอ่านออกเสียง และสังเกตคำ
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้การอ่าน การเขียนคำควบกล้ำไม่แท้ และที่พบเจอในชีวิตประจำวัน
ใช้ : นักเรียนเลือกคำควบกล้ำไม่แท้มาแต่งประโยค ๓ ประโยค
วันพุธ
ชง : ครูนำบัตรคำควบกล้ำไม่แท้ที่เจอในวรรณกรรมติดไว้บนกระดาน พร้อมทั้งเขียนสะกดคำอ่านให้นักเรียนสังเกตการสะกดคำ ที่เปลี่ยนเป็น “ซ” พร้อมทั้งค้นหาคำศัพท์ในนิทานสั้นๆ
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำไม่แท้ที่เจอในวรรณกรรม พาฝึกออกเสียง และเขียนสะกดคำให้ดู
ใช้ : นักเรียนค้นหาคำศัพท์ในวรรณกรรม ๕ คำ นำมาทำเป็นบัตรภาพลงในสมุด

วันพฤหัสบดี
ชง : ครูนำบัตรคำควบกล้ำแท้ และไม่แท้ มาให้นักเรียนช่วยแยกจัดหมวดหมู่ พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสามารถจัดหมวดหมู่คำควบกล้ำได้อย่างไร”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำที่ช่วยกันจัดหมวดหมู่ นักเรียนสังเกตความเหมือนและความแตกต่างระหว่างคำควบกล้ำแท้ กับไม่แท้ รวมถึงการนำไปใช้
ใช้ : นักเรียนเลือกคำควบกล้ำมา ๔ คำ นำมาแต่งนิทานสั้นๆ พร้อมวาดรูประบายสีให้สวยงาม

วันศุกร์
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ โดยการใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไร และสามารถนำไปใช้ในชีวิตของเราได้อย่างไร”
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำที่ได้เรียนในสัปดาห์ และทบทวนโดยให้นักเรียนออกไปเขียนคำควบกล้ำที่ตนเองรู้จักคนละ ๒ คำบนกระดาน
ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
การนำเสนอ และทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องคำควบกล้ำที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- เขียนการ์ตูนช่อง
- เขียนแต่งประโยค
- เขียนแต่งนิทาน
ความรู้ :
นักเรียนสามารถอ่าน และเขียน แยกแยะคำควบกล้ำแท้กับคำควบกล้ำไม่แท้ได้ สามารถนำคำคำควบกล้ำไม่แท้มาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด


ภาพตัวอย่างกิจกรรม

 ภาพตัวอย่างชิ้นงาน




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๗ ของการเรียนรู้ เนื่องจากสัปดาห์นี้หยุดไปหลายวัน จึงกลับมาทบทวนหลักภาษาของสัปดาห์ที่แล้ว และเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำควบกล้ำไม่แท้ลงไป ส่วนใหญ่พี่ๆ ยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าคำไหนเป็นคำควบกล้ำแท้ กับคำควบกล้ำไม่แท้ แต่ก็พอเข้าใจว่าคำศัพท์นั้นเป็นคำควบกล้ำ เพราะดูจากรูปคำ และพาเขาอ่านสะกดคำ เขาก็จะสามารถเข้าใจมากขึ้น และรู้ได้ทันทีเมื่ออ่านเจอในนิทาน ในส่วนของคำควบกล้ำไม่แท้ที่เพิ่มเข้าไป ก็พาเขาสะกด และให้สังเกตคำ และการออกเสียง เขาจะเห็นความแตกต่างระหว่างการเขียน และการอ่าน หลังจากที่อธิบาย มีพี่ที่พอเข้าใจ บอกว่า “มันจะไม่อ่านตัว ร ที่ตามหลัง มันอ่านกับเขียนไม่เหมือนกันค่ะ” ด้วยเวลาที่จำกัดจึงเพิ่มเรื่องสาระ และกิจกรรมยังไม่พอ พี่ๆ บางคนยังไม่เข้าใจ แต่ครูจะทบทวนไปเรื่อยๆ อาจมีโอกาสก็จะฉกฉวยไว้ และเสริมทันที

    ตอบลบ