เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถเข้าใจ อ่านและเขียนคำในมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา สามารถนำคำในมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรามาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
๗ – ๑๑
พ.ย.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :
วรรณกรรม เรื่อง สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน โรงนา
หลักภาษา : คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
Key Questions :
นักเรียนคิดว่าสีเทามีลักษณะคล้ายๆ กับสัตว์ชนิดใด เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น?
- ถ้าเราจำตัวสะกดในแต่ละมาตราไม่ได้จะเกิดอะไรขึ้น เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : จัดหมวดหมู่คำศัพท์
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา และวรรณกรรมที่อ่าน
- พฤติกรรมสมอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน โรงนา
- บัตรภาพ/บัตรคำ
วันจันทร์
ชง : ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน โรงนา พร้อมๆ กัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้
: นักเรียนเขียนสรุปข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และทำการ์ตูนช่องสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนนี
วันอังคาร
ชง : - นักเรียนแต่ละคนเขียนคำที่ตนเองชื่นชอบ คนละ ๑ คำ จากนั้นนำเสนอคำศัพท์ที่แต่ละคนเขียนร่วมกัน
- ครูให้นักเรียนสังเกตคำที่ตนเอง และที่เพื่อนๆ เขียน แล้วช่วยกันจัดหมวดหมู่ เพื่อเป็นการทบทวนก่อนเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนหลังจากที่นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่ ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องในการจัดหมวดหมู่อีกครั้ง
ใช้ : นักเรียนเขียนคำศัพท์ที่จัดหมวดหมู่ลงในตาราง

วันพุธ
ชง : - ครูทบทวนเรื่องมาตราตัวสะกดตรงมาตรา โดยใช้บัตรคำที่มีภาพประกอบตามตัวสะกด(ง ม ย ว) พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่าคำแต่ละคำสะกดด้วยแม่ใด?
- นักเรียนคิดคำศัพท์ที่สะกดด้วยแม่(ง ม ย ว) คนละ ๑ คำ แล้วออกมาเขียนไว้บนกระดาน พร้อมทั้งบอกคำที่ตนเองเขียนอ่านว่าอย่างไร อยู่ในแม่ใด?
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับมาตราตัวสะกดแต่ละมาตรา พร้อมยกตัวอย่างคำให้ชัดเจนอีกครั้ง
ใช้ : นักเรียนทำใบงานมาตราตัวสะกด(ง ม ย ว) ที่ครูกำหนดให้ พร้อมทั้งวาดภาพประกอบให้สวยงาม

วันพฤหัสบดี
ชง : ครูทบทวนเกี่ยวกับมาตราตัวสะกดที่ตรงมาตรา โดยนำคำศัพท์ที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์มาให้นักเรียนดู ช่วยสะกดคำ และแยกแยะจัดหมวดหมู่อีกครั้ง
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับมาตราตัวสะกดแต่ละมาตรา พร้อมทั้งให้นักเรียนคิดคำที่ตรงกับมาตราไว้คนละ ๑ คำ
ใช้ : นักเรียนทำบัตรภาพประกอบกับเขียนคำศัพท์ที่แต่ละคนคิดไว้ พร้อมทั้งตกแต่งให้สวยงาม

วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ สามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง? 
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา

ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
- การวิเคราะห์ จัดหมวดหมู่คำศัพท์ตัวสะกดตรงมาตรา
ชิ้นงาน :
- เขียนการ์ตูนช่อง
- ทำใบงาน
ความรู้ :
นักเรียนสามารถเข้าใจ อ่านและเขียนคำในมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา สามารถนำคำในมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรามาแต่งประโยค และเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด


ภาพตัวอย่างกิจกรรม

ภาพตัวอย่างชิ้นงาน







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๓ ของการเรียนรู้ ปรากฏการณ์พิเศษที่พบในสัปดาห์นี้ คือ พี่ ป.๑ จะตั้งใจฟังเป็นพิเศษเมื่อมีนิทานใหม่ๆ มาให้เขาได้อ่าน และเล่าให้เขาฟัง ก่อนที่จะเริ่มเรียน หรือลงหลักภาษา ครูเล่านิทานเกี่ยวกับมาตราตัวสะกด ชงก่อนที่จะทบทวนเขาเรื่องตัวสะกด ที่เคยสอนไปใน Quarter ที่ผ่านมา ปรากฏว่าพี่ๆ ส่วนใหญ่จำได้ และสามารถตอบคำถามครูได้ อย่างเช่น ครูถาม “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคำนี้มีตัวสะกด เราจะสังเกตได้จากสิ่งใด” พี่ชิน “สังเกตจากคำที่มีตัวด้านหลัง มันจะมีตัวสะกดอยู่”,“เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวสะกดตัวนี้ อยู่ในมาตราใด” พี่แก้ม “ให้ดูตรงตัวหลังสุดค่ะ มันจะมี ๙ แม่ ถ้ารวมกับแม่ก กาค่ะ” ครูทบทวนโดยให้เขาแยกคำว่าอยู่ในมาตราใด ส่วนใหญ่สามารถแยกได้ แต่จะเป็นแบบมาตราตรงตัว อย่างแม่กง ก็ ง สะกด แม่เกยก็ ย สะกด สัปดาห์จึงเพิ่มเติมมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตรา ให้เขารู้จักคำศัพท์มากขึ้น จากหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเห็นพัฒนาการด้านการอ่าน การเขียน และการคิดของพี่ๆ พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อ่านคล่องขึ้นมาก และเขียนด้วยตนเองได้แล้ว ความคิดความจำก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ครูจึงพยายามจะทวน ย้ำ ซ้ำ เตือนเขาบ่อยๆ เพราะถ้าพี่ๆ กำลังสนใจในเรื่องนี้ เขาจะเรียนรู้ได้เร็ว พร้อมที่จะรับตลอดเวลา ครูจึงต้องฉกฉวยโอกาสพิเศษๆ แบบนี้ให้ทัน สำหรับสัปดาห์นี้จะดีกว่านี้ ถ้ามีกิจกรรมที่หลากหลาย งานที่ท้าทายมากกว่านี้

    ตอบลบ