เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 5

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านและแต่งประโยคได้อย่างถูกต้อง นำประโยคมาเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
๒๑ – ๒๕
พ.ย.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :
วรรณกรรม เรื่อง  สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บินได้แต่มองไม่เห็น
หลักภาษา : การแต่งประโยค
Key Questions :
นักเรียนคิดว่า เพราะเหตุใดสีเทาจึงมองไม่เห็นในตอนกลางวัน?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : ตัวอย่างการแยกประโยค
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการแต่งประโยค
- พฤติกรรมสมอง
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน 
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บินได้แต่มองไม่เห็น
- แถบประโยค
- ถ้วยคำศัพท์
วันจันทร์
ชง : ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บินได้แต่มองไม่เห็น พร้อมๆ กัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้
: นักเรียนเขียนสรุปข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และทำการ์ตูนช่องสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนนี้
วันอังคาร
ชง : - ครูนำแถบประโยคมาแยกเป็น ๓ ส่วน ให้นักเรียนช่วยกันสังเกต พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากแถบคำเหล่านี้บ้าง ถ้าต้องการให้คำเหล่านี้เป็นประโยคจะทำอย่างไร?
- นักเรียนนำแถบคำมาต่อให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับการแต่งประโยค ในการแต่งประโยคถูกต้องแต่ละครั้งจะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง
ใช้ : นักเรียนเขียนประโยคที่ช่วยกันต่อลงในใบงานตาราง

วันพุธ
ชง : ครูแจกการ์ดเปล่าให้นักเรียนคนละ ๓ แผ่น ให้นักเรียนแต่งประโยคตามที่ครูกำหนด คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากที่นักเรียนแต่งประโยคลงในการ์ด นักเรียนนำเสนอแผ่นการ์ดของตนเอง
ใช้ : นักเรียนนำคำที่เขียนบนการ์ดมาเขียนลงในกระดาษที่ครูเตรียมไว้ให้สมบูรณ์
วันพฤหัสบดี
ชง : - ครูทบทวนเรื่องการแต่งประโยค ที่ประโยคต้องประกอบด้วยประธาน กริยา กรรม โดยแบ่งนักเรียนเป็น ๕ กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้รับถ้วยคำ ๑๔ ถ้วย พร้อมกับตารางการแต่งประโยค ในถ้วยคำประกอบด้วย คำนาม คำกริยา ที่สามารถเป็นประธานได้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางถ้วยคำเป็นประโยคสลับกับไป พร้อมเขียนประโยคที่ได้ในแต่ละครั้งลงในตาราง
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากที่แต่ละกลุ่มช่วยกันแต่งประโยค ตรวจสอบความถูกต้องพร้อมๆ กัน

วันศุกร์
ชง : นักเรียนเขียนตามคำบอก โดยครูจะบอกเป็นประโยคอย่างง่ายๆ ๕ ประโยค ประกอบด้วยประธาน กริยา กรรม เช่น กบกินแมลง,ควายกินหญ้า
เชื่อม : - ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้หลังจากที่เขียนตามคำบอก ร่วมตรวจสอบความถูกต้องพร้อมๆ กัน
- ครูและนักเรียนทบทวนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เรื่องการแต่งประโยคที่ถูกต้องไปพร้อมๆ กันอีกครั้ง


ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- เขียนการ์ตูนช่อง
- ทำใบงาน
- เขียนการ์ดประโยค
ความรู้ :
นักเรียนสามารถอ่านและแต่งประโยคได้อย่างถูกต้อง นำประโยคมาเขียนเรื่องตามจินตนาการได้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด

ภาพตัวอย่างกิจกรรม



ภาพตัวอย่างชิ้นงาน
สรุปวรรณกรรม

แต่งประโยคจากภาพ

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๕ ของการเรียนรู้ สำหรับพี่ ป.๑ ปรากฏการณ์พิเศษที่พบระหว่างทาง ในระหว่างที่สอนเรื่องการแต่งประโยค พี่ๆ ก็จะงงๆ ดูสงสัย สอนต่อไปเรื่อยๆ กำหนดหัวข้อหลักว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ก็ได้ยินคำพิเศษจากพี่ๆ เช่น ใคร ครูถามว่ามีหน้าที่ทำอะไร พี่น้ำ “มีเอาไว้บอกว่าใครกำลังจะทำอะไร เราจะได้รู้” และทำอะไร พี่แก้ม “บอกให้รู้ว่าเราจะทำอะไรค่ะ จะกิน จะนอนก็ได้ค่ะ” ลองให้พี่ๆ แต่งประโยคจากการวางเรียงแบบนี้ พี่ๆ ส่วนใหญ่เข้าใจการวางประโยค และแต่งประโยคมากยิ่งขึ้น จะดีกว่านี้ถ้าครูทำกิจกรรมให้เร็ว เพิ่มเวลาทำงานให้เยอะขึ้น ให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเองบ้าง ครูก็ค่อยๆ เสริมไปเรื่อยๆ

    ตอบลบ