เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 9

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านและเขียนคำคล้องจองได้อย่างถูกต้องสร้างสรรค์ และสามารถแต่งคำคล้องจองเองได้อย่างง่ายๆ ใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานอ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
๑๙ – ๒๓
ธ.ค.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :
วรรณกรรม เรื่อง  สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน กลับสู่อ้อมอก
หลักภาษา :  คำคล้องจอง
Key Questions :
- สีเทาเจอกับแม่ที่ใด หากนักเรียนเป็นสีเทานักเรียนจะรู้สึกอย่างไรที่ต้องพลัดพลาดจากแม่?
- นักเรียนคิดว่าเราจะพบเจอคำคล้องจองได้จากที่ใดบ้าง นักเรียนเคยอ่านคำคล้องจองหรือไม่?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : คำคล้องจองพยางค์เดียว
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเขียนคำคล้องจอง และวรรณกรรมที่อ่าน
- พฤติกรรมสมอง
- Show and Share : นำเสนอคำคล้องจองสองพยางค์
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
- บัตรคำ
วรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน กลับสู่อ้อมอก

วันจันทร์
ชง : ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน กลับสู่อ้อมอก พร้อมๆ กัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
: นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้
: นักเรียนเขียนสรุปข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และเขียนเรื่องย่อ พร้อมวาดภาพประกอบให้สวยงาม
วันอังคาร
ชง : ครูพาเล่นเกมต่อคำ โดยครูพูดคำขึ้นมาหนึ่งคำ แล้วให้นักเรียนพูดต่อกันในสระเดียวกันที่ครูพูด เชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆ จนครบทุกคน เช่น ดี ตี ปี ผี ฯลฯ
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน และช่วยกันคิดคำ โดยครูจะเขียนคำไว้แค่คำเดียวบนกระดาน เช่น ดี ปู ตา เป็นต้น แล้วให้นักเรียนช่วยกันไปเขียนเพิ่มบนกระดาน
ใช้ : ครูเขียนกำหนดคำขึ้นต้นให้นักเรียน ๓ ข้อ แล้วให้นักเรียนเขียนเพิ่มอีก ๕ คำ
วันพุธ
ชง : ครูนำบทคล้องจองสองพยางค์มาให้นักเรียนดู และช่วยกันอ่าน โดยครูอ่านให้ฟังก่อน ๑ รอบ จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันอ่านเอง
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และสังเกตคำที่คล้องจองกัน จากนั้นช่วยกันลองแต่งคำคล้องจอง ๒ พยางค์ง่ายๆ
- นักเรียนคัดบทคล้องจองตัวบรรจงเต็มบรรทัดลงในสมุด
วันพฤหัสบดี
ชง : ครูนำแถบคำสองพยางค์มาให้นักเรียนสังเกต และช่วยกันเรียงใหม่ ให้คล้องจองกันตามความเข้าใจของนักเรียนก่อน
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนหลังจากที่เรียงแถบคำ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง และช่วยกันจัดเรียงประโยคใหม่
ใช้ : นักเรียนจับคู่เขียนคำคล้องจอง ๒ พยางค์ง่ายๆ ๕ คำ
วันศุกร์
ชง : - ครูจับสลากแบ่งกลุ่มนักเรียน ๕ กลุ่ม ครูแจกกระดาษและให้แต่ละกลุ่มเขียนคำคล้องจองสองพยางค์ ๑๐ คำ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงาน
เชื่อม : ครูและนักเรียนทบทวนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เรื่องคำคล้องจองไปพร้อมๆ กันอีกครั้ง
ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
การวิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านวรรณกรรม
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ชิ้นงาน :
- เขียนการ์ตูนช่อง
- เขียนคำคล้องจอง ๒ พยางค์
ความรู้ :
นักเรียนสามารถอ่านและเขียนคำคล้องจองได้อย่างถูกต้องสร้างสรรค์ และสามารถแต่งคำคล้องจองเองได้อย่างง่ายๆ ใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากนิทานอ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด

ภาพตัวอย่างกิจกรรม

ภาพตัวอย่างชิ้นงาน


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๙ ของการเรียนรู้ เนื่องจากสัปดาห์หน้าจะมีงานบุญคูณลาน ครูจึงพาพี่ๆ สรุปวรรณกรรมเรื่องสีเทาเจ้าตัวจิ๋ว และสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดใน Quarter นี้ พาพี่ๆ ทบทวนเรื่องวรรณกรรม และเล่าให้ฟังจนจบ เนื่องจากยังอ่านได้ไม่ครบตอน จากนั้นพาสรุปองค์ความรู้ เพิ่มหัวข้อสิ่งที่ทำได้ดีแล้ว และการนำมาปรับใช้ในชีวิตของเรา เนื่องจากพี่ๆ ยังเขียนไม่ได้หมดทุกคนครูจึงพาทบทวน และพาเขียนยกตัวอย่างไปพร้อมๆ กัน มีปล่อยให้เขียนเองบ้าง ซึ่งพี่ๆ บางส่วนที่เข้าใจ และเขียนได้คล่องเมื่อทำงานของตนเองเสร็จแล้ว ครูจึงขออาสาไปช่วยเพื่อนๆ ที่ยังไม่เข้าใจ ซึ่งพี่ๆ ก็ช่วยเหลือกันดี ใน Quarter3 พี่ป.๑ อ่านและเขียนได้ดีขึ้นหลายคน และมีที่ยังอ่านไม่คล่องอีกบ้างส่วนเช่นเดียวกัน แต่ก็เห็นความพยายามของทุกๆ คน ที่จะอ่าน และเขียนให้ดีชึ้น

    ตอบลบ