เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย : เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง
1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ
2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week 8

เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอ่านและเขียน แยกแยะคำประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ได้ เข้าใจและนำมาแต่งเป็นประโยค เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
๑๒ – ๑๖
ธ.ค.
๒๕๕๙
วรรณกรรมเรื่อง :
วรรณกรรม เรื่อง  สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน ผจญป่า
หลักภาษา :  คำที่ประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
Key Questions :
- สีเทาบินตามหาแม่ที่ไหน เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในขณะนั้นบ้าง?
- นักเรียนสามารถเขียนคำที่ประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ถูกต้องอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share : ตารางคำที่ประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
- Round Rubin : สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำที่ประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ และวรรณกรรมที่อ่าน
- พฤติกรรมสมอง
- Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน
สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน ผจญป่า
- บัตรคำ
วันจันทร์
ชง : ครูและนักเรียนอ่านวรรณกรรม สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน ผจญป่า พร้อมๆ กัน
เชื่อม : ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเทียบเคียงเรื่องราวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมที่อ่านกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์
: นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ(แต่งเรื่องใหม่
,แต่งตอนจบใหม่,วาดภาพประกอบฉาก,การ์ตูนช่อง,ชาร์ตภาพ ฯลฯ)
ใช้
: นักเรียนเขียนสรุปข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และเขียนเรื่องย่อ พร้อมวาดภาพประกอบให้สวยงาม
วันอังคาร
ชง :  นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่มเรียงเป็นแถว ครูทายคำปริศนาให้นักเรียนทาย (เกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์) โดยนักเรียนที่เป็นตัวแทนคนแรกออกไปเขียนคำตอบไว้บนกระดาน แล้วกลับมาต่อหลังเพื่อนคนสุดท้าย
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับคำประวิสรรชนีย์ที่ได้เล่นเกม พาสะกดคำอ่านออกเสียง และเพิ่มเติมคำศัพท์ใหม่ที่นักเรียนพบ โดยให้นักเรียนบอกคำที่มีสระอะที่ตนเองรู้จักทีละคน
ใช้ : นักเรียนคิดคำใหม่ที่มีสระอะ ๔ คำ นำมาทำบัตรภาพลงในสุด

วันพุธ
ชง : - ครูนำบัตรคำที่เป็นคำประวิสรรชนีย์กับไม่ประวิสรรชนีย์จากในวรรณกรรมมาให้นักเรียนสังเกต และอ่านออกเสียงตาม พร้อมใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าคำเหล่านี้มีอะไรที่เหมือนหรือแตกต่างกัน”
- นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่คำประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ลงในชาร์ทตาราง
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่คำ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง
ใช้ : นักเรียนค้นหาคำประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ จากหนังสือสีเทาเจ้าตัวจิ๋ว คนละ ๖ คำ แล้วนำมาแต่งประโยค พร้อมวาดรูปตกแต่งให้สวยงาม

วันพฤหัสบดี
ชง : ครูนำจานกระดาษทรงกลมมาให้นักเรียนคนละใบ จากนั้นให้นักเรียนตีช่องให้ได้ ๘ ช่อง
- หลังจากตีช่องเสร็จ ครูให้นักเรียนคิดคำที่เป็นคำประวิสรรชนีย์ ๔ คำ,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ ๔ คำ ในแต่ละช่องครูจะให้เวลาคิดช่องละ ๒๐ วินาที เมื่อเขียนเสร็จให้นักเรียนวาดภาพประกอบให้สวยงาม
เชื่อม : ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับคำที่นักเรียนเขียนลงในจานกระดาษ และให้นักเรียนนำเสนอจานกระดาษสะสมคำศัพท์ของตนเอง

วันศุกร์
เชื่อม : ครูและนักเรียนทบทวนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เรื่องคำประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ไปพร้อมๆ กันอีกครั้ง โดยให้นักเรียนแต่ละคนออกมาเขียนคำที่ตนเอง
ใช้ : นักเรียนเลือกคำประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์อย่างละ ๓ คำ มาแต่งเป็นนิทานตามจินตนาการ พร้อมกับวาดภาพประกอบให้สวยงาม
ภาระงาน :
การพูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- การอ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- การวิเคราะห์จัดหมวดหมู่คำศัพท์คำประวิสรรชนีย์ และคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
การนำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน :
- การ์ตูนช่อง
- จานกระดาษคำศัพท์
- เขียนแต่งนิทาน
ความรู้ :
นักเรียนสามารถอ่านและเขียน แยกแยะคำประวิสรรชนีย์,คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ได้ เข้าใจและนำมาแต่งเป็นประโยค เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ :
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจพร้อมนำเสนอด้วยการเล่าหรือเขียนบันทึกได้
ทักษะการคิด

- การคิดวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
- การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
-การคิดแก้ไขปัญหาจากการทำกิจกรรม
- การคิดสร้างสรรค์จากการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้

- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- มีมารยาทในการฟังและการพูด

ภาพตัวอย่างกิจกรรม
ภาพตัวอย่างชิ้นงาน


1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์ที่ ๘ ของการเรียนรู้ สัปดาห์นี้พี่ป.๑ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำที่มีสระอะ(ประวิสรรชนีย์) หลังจากเล่นเกมทายคำปริศนา ครูให้พี่ๆ คิดคำศัพท์ที่มีสระอะ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา พี่ๆ ช่วยกันคิดคำได้อย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เห็นบ่อยๆ อยู่ใกล้ๆ ตัว เช่น มะนาว ประตู ตะปู มะขาม เป็นต้น พี่ป.๑ ยังไม่รู้ว่าคำที่มีสระอะ เป็นคำประวิสรรชนีย์ แต่เขาสามารถใช้คำที่มีสระอะได้ จากการอ่านและการเขียน สามารถนำคำที่มีสระอะมาแต่งเป็นการ์ตูนช่องสนทนากันได้อย่างสร้างสรรค์ ด้วยจินตนาการของพี่ป.๑ ตอนนี้เริ่มมีลายเส้น และความคิดเป็นของตนเองแล้ว ทุกคนจะมีความคิดที่ใหม่ๆ ให้ครูแปลกใจเสมอๆ ดังนั้นเราจะสนับสนุนเขาอย่างไร ให้พี่ๆ พัฒนาไปยังจุดสูงสุดตามศักยภาพของเขา นี่คือโจทย์ที่ครูต้องคิด

    ตอบลบ